เวบใหม่

เวบของเราย้ายไปอยู่ที่ www.lannaka.com

สินค้ามาใหม่ 21 ตุลาคม 2554 ไปดูที่เวบใหม่เลยครับ

ยินดีต้อนรับเข้าสู่เวบไซต์ของร้าน LANNAKA

ร้านลานนาคาเปิดขายอยู่ที่ ถนนคนเดิน กาดกองต้า จ.ลำปาง
ทุกวันเสาร์และอาทิตย์
ตั้งแต่เวลา 17.00 - 22.00 น.

เบอร์โทรติดต่อ : 086-5766278 , 085-9712386
Email : lannaka@live.com

" สินค้าของเราอัพเดทเกือบทุกอาทิตย์นะครับ "

วิธีการสั่งซื้อทางอินเตอร์เน็ต

1. โทร มาสั่งซื้อสินค้าที่ต้องการ
2. โอนเงินเข้าบัญชีของทางร้าน
3. ทางร้านตรวจสอบว่าเงินเข้าแล้ว
4. จะจัดส่งของทางไปรษณีย์แบบ ems.
5. หรือจัดส่งในแบบที่ลูกค้าต้องการ

" สินค้าของเราอัพเดทเกือบทุกอาทิตย์นะครับ "

วิธีชมภาพขนาดใหญ่

การชมรูปภาพขนาดใหญ่ สามารถคลิกที่รูปภาพที่ต้องการดูได้เลย และสามารถคลิกที่รูปภาพได้อีกครั้งเพื่อดูภาพแบบเจาะจง หรือเพื่อดูจุดใดจุดหนึ่งก็ได้ครับ

ตราประทับบนเครื่องเงินอังกฤษ


    จริงๆแล้วไม่ใช่แค่ประเทศอังกฤษเท่านั้นที่มีการประทับตราสัญลักษณ์ไว้บนเครื่องเงินประเทศทางแถบยุโรปส่วนใหญ่ก็นิยมทำเช่นกัน แต่ที่เขียนเรื่องนี้ก็เพราะว่าประเทศอังกฤษนั้นมีการติดต่อสัมพันธ์ ทำการค้าขายกับประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงประเทศไทย มากที่สุดประเทศหนึ่ง ดังนั้นเราจึงสามารถพบเห็นเครื่องเงินของอังกฤษได้ในบริเวณแถบบ้านเรามากกว่าเครื่องเงินจากประเทศอื่นในแถบยุโรป แต่ถึงกระนั้นเครื่องเงินพวกนี้จะใช้เฉพาะในหมู่ชนชั้นสูงเท่านั้นจึงไม่แปลกที่เราจะพบเจอเครื่องเงินพวกนี้ตามบ้านของพวกเจ้านาย หรือพวกคหบดีเท่านั้น
สัญลักษณ์บนเครื่องเงินของประเทศอังกฤษนั้นประกอบไปด้วย
 1                 2                 3              4           5
1        ตราสัญลักษณ์  ผูผลิต ( ชื่อคน หรือื่อบริษัท )



2        ตราสัญลักษณ์  ประเทศและเปอร์เซ็นต์ของแร่เงินที่อยู่ในวัตถุ



3        ตราสัญลักษณ์  เมืองที่ผลิต



4        ตราสัญลักษณ์  ปีที่ผลิต



5        ตราสัญลักษณ์  ภาษีอากร



การประทับตราลงบนเครื่องเงินในสมัยแรกๆนั้นยังไม่มีการประทับตราอย่างเป็นระเบียบาดว่าคงจะแล้วแต่ช่างคนนั้นว่าจะตอกตรงไหนอย่างไร
ปี ค.ศ. 1695
ปี ค.ศ. 1746
    ภาพพวกนี้เป็นเพียงตัวอย่างของการประทับตรา ะเห็นว่าจะไม่มีการเรียงเป็นระเบียบสวยงามีการประทับตรากลับหัวกลับหางบ้างำแหน่งไม่ตรงกันบ้าง ยุคแรกยังมีตราประทับเพียง 4 ตัวเท่านั้น  คือ ตราประเทศหรือเปอร์เซ็นต์เงินราของผู้ผลิตราของเมืองที่ผลิต และ ตราปีที่ผลิต จะยังไม่มีตราภาษีอากราดว่าตราภาษีอากรนี้น่าจะมีการให้ตอกเพิ่มในสมัยถัดมา 
     ประมาณปี ค.ศ. 1789 จึงเริ่มมีการเพิ่มตราสัญลักษณ์ลงไปอีกอันหนึง ก็คือราภาษีอากรนั่นเอง ตราภาษีอากรนั้นจะใช้พระบรมฉายาลักษณ์ของผู้ปกครองอังกฤษในสมัยนั้น ( บางยุคม่ใช่กษัตริย์ แต่เป็นราชินีก็มี )


ปี ค.ศ. 1746
    ภาพพวกนี้เป็นเพียงตัวอย่างของการประทับตรา ะเห็นว่าจะไม่มีการเรียงเป็นระเบียบสวยงามีการประทับตรากลับหัวกลับหางบ้างำแหน่งไม่ตรงกันบ้าง ยุคแรกยังมีตราประทับเพียง 4 ตัวเท่านั้น  คือ ตราประเทศหรือเปอร์เซ็นต์เงินราของผู้ผลิตราของเมืองที่ผลิต และ ตราปีที่ผลิต จะยังไม่มีตราภาษีอากราดว่าตราภาษีอากรนี้น่าจะมีการให้ตอกเพิ่มในสมัยถัดมา 
     ประมาณปี ค.ศ. 1789 จึงเริ่มมีการเพิ่มตราสัญลักษณ์ลงไปอีกอันหนึง ก็คือราภาษีอากรนั่นเอง ตราภาษีอากรนั้นจะใช้พระบรมฉายาลักษณ์ของผู้ปกครองอังกฤษในสมัยนั้น ( บางยุคม่ใช่กษัตริย์ แต่เป็นราชินีก็มี )
1                     2

ตัวอย่างของตราสัญลักษณ์ภาษีอากร
   จนกระทั้งประมาณปี ค.ศ. 1894 จึงยกเลิกตราภาษีอากรลับมาใช้ตราประทับเพียง 4 ตราเหมือนเดิม
        ตัวอย่างของการประทับตราในยุคหลัง  Made by Joseph Ridge in Sheffield, 1894

ประเทศอังกฤษนั้นมีการประทับตราที่ทำให้เราทราบว่าของชิ้นนั้นผลิตมาเมื่อไหร่ โดยการใช้ตัวอักษรเป็นตัวบ่งบอกปีที่ผลิต ซึ่งแต่ละเมืองก็จะมีการประทับตราตัวอักษรที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน แต่ปีที่ประทับตราจะไม่ตรงกัน   นอกจากตัวอักษรแบบตัวพิมพ์แล้วยังมีการใช้ตัวอักษรแบบอื่นๆอีกด้วย  การใช้ตัวอักษรในการบ่งบอกปีที่ผลิตนั้นใช้แบบวนไปวนมา (จากตัวพิมพ์เล็กไปตัวเขียนไปตัวพิมพ์ใหญ่ป็นต้น ) แต่จะมีการเปลี่ยนกรอบของตัวอักษรให้มีการแต่ต่างจากของชุดที่แล้ว
ภาพนี้เป็นตัวอย่างของการใช้ตัวอักษร  c  แบบพิมพ์เล็กเป็นตัวบอกปี
ภาพนี้เป็นตัวอย่างของการใช้ตัวอักษร  y อีกแบบพิมพ์นึง
 
    1                                 2
     จากภาพทั้ง 2 รูปนี้ จะเห็นว่าตัวอักษรเป็นแบบเดียวกันแต่มีความแตกต่างกันที่กรอบของตัวอักษรือูปที่ 1 กรอบนั้นจะมีความโค้งมนตรงมุม ส่วนรูปที่ 2 นั้นจะเห็นความเป็นเหลี่ยมตรงมุมอย่างชัดเจนล้ายกับโล่ของอัศวิน
ตราสัญลักษณ์ที่เป็นตัวบอกเปอร์เซ็นต์เงินของประเทศอังกฤษนั้นมีสองแบบคือ1 เป็นรูปสิงโตยกขาหน้าข้างหนึ่ง  2 เป็นรูปผู้หญิงนั่งและแต่งกายแบบนักรบกรีซโบราณ ซึ่งแต่ละแบบก็เป็นตัวบอกเปอร์เซ็นต์เงินไม่เท่ากัน้าเป็นตราสิงโตก็จะหมายถึงเงิน 92.5 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าเป็นรูปผู้หญิงใส่ชุดนักรบกรีซโบราณะเป็นเงิน 95.6 เปอร์เซ็นต์

ภาพตัวอย่างของตราสัญลักษณ์รูปสิงโตยกขางิน 92.5 เปอร์เซ็นต์

ตราสัญลักษ์ที่บอกถึงเมืองที่ผลิตนั้น จะทำเป็นรูปสัญลักษ์ประจำเมืองโดยไม่ซ้ำกับเมืองอื่น เช่น
1.เมือง Birmingham จะใช้สัญลักษ์เป็นรูปสมอเรือ
รูปตัวอย่าง สัญลักษณ์ประจำเมือง Birmingham (ขวามือสุด)

2.เมือง  London จะใช้สัญลักษณ์เป็นรูปหน้าเสือ
รูปตัวอย่าง สัญลักษณ์ประจำเมือง London (ตรงกลาง)
 
3.เมือง Sheffield จะใช้สัญลักษณ์เป็นรูปมงกุฎ
รูปตัวอย่าง สัญลักษณ์ประจำเมือง Sheffield (สัญลักษณ์ที่2จากซ้าย)

สิ่งที่บอกมานี้เป็นเพียงตัวอย่างบางเมืองเท่านั้นเพราะที่ อังกฤษ นั้นมีเมืองที่ทำเครื่องเงินเยอะมากถ้าอยากรู้มากกว่านี้ต้องไปศึกษาเพิ่มเติม
ถ้าประเทศไทยมีการทำสัญลักษณ์แบบทางยุโรบบ้างก็คงจะดี คงจะมีคนนิยมศึกษาหรือสะสมกันและเป็นที่ยอมรับกันมากกว่านี้