ลาย12นักษัตรดอกฝ้าย
ลายกลีบบัว
(2). ใช้ในงานเทศกาลและงานประเพณีต่างๆ คือ ใช้ในประเพณีสงฆ์น้ำพระ ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งถือว่าเป็นวันเถิงศกใหม่ของชาวล้านนา ใส่น้ำขมิ้นส้มป่อยหรือน้ำมนต์เพื่อเป็นสิริมงคล สลุงที่ใช้สำหรับงานเทศกาลและประเพณีนั้น จะมีการใช้งานสลุงในหลายๆขนาด ตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงใหญ่มาก ลวดลายบนสลุงจะเป็นลวดลายที่มีความเชื่อเกี่ยวกับศาสนาและคติความเชื่อต่างๆ เช่น ลาย12นักษัตร ลายมงคล8 ลายชาดกต่างๆ ฯลฯ
นอกจากลวดลายบนตัวสลุงแล้ว ที่ส่วนของก้นสลุงก็ยังมีการประดับลวดลายด้วย เรียกว่า "ลายต๋า" หรือลายตรา ลวดลายบริเวณนี้เป็นลายที่บ่งบอกถึงความเป็นมาของสลุง เช่น อาจจะมีชื่อของช่างที่ทำสลุง ปีที่ผลิต ปีเกิดของเจ้าของ ชื่อเจ้าของ รวมถึงปริมาณเนื้อเงินของสลุงใบนั้นๆด้วย ฯลฯ
ลายเทพนมยืนเต็มตัว
ลายหม้อปูรณฆฏะ
ปัจจุบันมีการค้นพบลวดลายบนตัวสลุงมากกว่า 100 ลวดลาย ซึ่งลวดลายบนตัวสลุงนั้น ยิ่งมีการทำที่วิจิตรพิสดารหรือมีความแปลกประหลาดมากเท่าไหร่ก็ยิ่งจะหาดูและพบเห็นได้ยากและยังเป็นที่นิยมชื่นชอบของนักสะสมอีกด้วย